วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Data Warehouse คืออะไร

คลังข้อมูล (Data Warehouse)
ดาต้าแวร์เฮ้าส์ หรือคลังข้อมูล
คือ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ ของการจัดเก็บข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลปฏิบัตการทั่วไป การพัฒนาระบบคลังข้อมูลเริ่มจากการออกแบบฐานข้อมูล ซึ่งวิธีการหนึ่งเรียกว่า ระเบียบวิธี 9 ชั้นของ Kimball จะเน้นที่การออกแบบจากระบบงานย่อยหรือดาต้ามาร์ทของแต่ละระบบงานในองค์กรก่อนจึงนำส่วนย่อยๆ นั้นมารวมเป็นระบบคลังข้อมูลขององค์กรต่อไป ทั้งนี้กระบวนการหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาระบบคลังข้อมูล คือการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเข้าสู่ดาต้ามาร์ทของแต่ละระบบ หรือเรียกว่าการแปลงข้อมูล โดยจะต้องกำหนดการส่งข้อมูล รวบรวมหรือสร้างข้อมูลภายนอก วางแผนและสร้างรูทีนการแปลงข้อมูล จึงตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ก่อนนำเข้าสู่คลังข้อมูลเพื่อให้เป็นข้อมูลที่เหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อไป
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ยังไม่จัดว่าพ้นภาระวิกฤตธุรกิจหลายประเภท จึงยังต้องการ การวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็วเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดต่อการดำเนินการนั้น การใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจการลงทุนทางธุรกิจและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งทางการค้า ฉะนั้นก็อาจกล่าวได้ว่าการมีข้อมูลมากทำให้มีโอกาสและมีชัยเหนือคู่แข่งในระดับหนึ่ง แต่ทว่าหากมองในทางกลับกัน การมีข้อมูลจำนวนมากแต่ขาดการจัดเรียงให้เป็นระบบยุ่งยากในการเข้าถึงและค้นคืน ธุรกิจอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลในการเก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้โดยไม่จำเป็น เพราะไม่ได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่มี นอกจากนี้หากมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างผิดพลาดอาจจะก่อให้เกิดผลเสียหายได้ ซึ่งเป็นการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจไป เพราะฉะนั้นในยุคที่ผู้บริหารมีความต้องการใช้ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจมากขึ้น การจัดระบบระเบียบข้อมูล เพื่อนำเสนอข้อมูลที่มีคุณค่าและผ่านการกลั่นกรองแล้วแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจให้ทันต่อเหตุการณ์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แนวความคิดของการสร้างคลังข้อมูลจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญและจำเป็นจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลเชิงบริหารนี้จะสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการใช้ข้อมูลจากฐานปฏิบัติการ (operational database) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบ transaction system ได้ ซึ่งโดยทั่วไปปัญหาที่พบเมื่อต้องการข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจได้แก่ - การเรียงข้อมูลจากฐานข้อมูลปฏิบัติการ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลงและทำงานได้ช้าลง - ข้อมูลที่นำเสนอมีรูปแบบเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้บริหาร - ไม่สามารถหาคำตอบในเชิงพยากรณ์ได้ - ไม่ตอบสนองการทำคิวรี่ที่ซับซ้อนได้ดีเท่าที่ควร - ข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ตามฐานข้อมูลของระบบงานต่างๆ ซึ่งยากแก่การเรียกใช้และขาดความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
2. สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนสร้างคลังข้อมูล
เนื่องจากการลงทุนสร้างคลังข้อมูลขึ้นมาใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานขององค์กรนั้นจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนมหาศาล ทั้งที่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงินได้ เช่นค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ infrastructure อื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงิน แต่มีความสำคัญอย่างมากได้แก่ กำลังแรงงานที่เสียไปของทรัพยากรบุคคลขององค์กรและเวลาที่ใช้ในการพัฒนา ดังนั้น เมื่อองค์กรตัดสินใจสร้างคลังข้อมูลขึ้นแล้ว ควรจะประสบความสำเร็จด้วย ทั้งนี้ Poe ได้เสนอ The Big Eight หรือ 8 ประการที่ควรให้ความสนใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1.) ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมของการสร้างระบบนี้ของคนในองค์กร เหมือนการตอบคำถามว่าทำไมคุณถึงคิดจะสร้างคลังข้อมูล? ซึ่งคำตอบขององค์กร ที่จะได้คือเป้าหมายที่ต้องการ โดยควรจะเขียนเป้าหมายนี้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน เพื่อให้ทีมพัฒนาได้เข้าใจเป้าหมายร่วมกัน
(2.) ทำความเข้าใจสถาปัตยกรรมของระบบ เพื่อให้ทีมพัฒนาเข้าใจตรงกัน ในที่นี้หมายถึง blueprint ที่แสดง E-R model รวมของระบบความเข้าใจที่ตรงกันทำให้งานเดินไปได้เร็วขึ้น
(3.) เทคโนโลยี่ที่ใช้ควรอยู่ในวิสัยที่เหมาะสม ทั้งด้านของตัวเงินและความยากง่ายในการเรียนรู้
(4.) ทีมงานต้องมีวิสัยทัศน์เชิงบวกในการทำงาน เนื่องจากทีมพัฒนามักมาจากส่วนงานด้านเทคโนโลยีสารสรเทศ แต่ในเนื้องานจริงๆ แล้วผู้ใช้ขั้นปลายเป็นส่วนงานอื่นๆ ขององค์กร ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ผู้ใช้ขั้นปลายที่เป็นเจ้าของงานเข้ามาร่วมทำงานด้วยตั่งแต่ต้นโครงการ
(5.) ต้องมั่นใจได้ว่าทีมพัฒนาเข้าใจเป็นอย่างดีถึงความแตกต่างกันระหว่างฐานข้อมูลปฏิบัติการและฐานข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ
(6.) จัดให้มีการฝึกอบรม โดยควรเป็นการฝึกอบรมก่อนเริ่มโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือที่องค์กรจะใช้พัฒนา ทั้งนี้อาจเป็นการฝึกอบรมจากบริษัทผู้ขาย
(7.) ควรหาบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาคลังข้อมูลเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโครงการหรือถ้าในองค์กรไม่เคยมีประสบการณ์เลย อาจจ้างที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านนี้โดยเฉพาะมาช่วยทีมพัฒนา
(8.) โปรแกรมที่จะใช้นำเสนอข้อมูลในคลังข้อมูล ต้องสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.แนวคิดเกี่ยวกับคลังข้อมูล
(3.1) นิยามของคลังข้อมูล คลังข้อมูล หมายถึง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรหรือหน่วยงานหนึ่งๆ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบงานประจำวัน หรือเรียกอีกอย่างว่า operational database และฐานข้อมูลอื่นภายนอกองค์กร หรือเรียกว่า external database โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในคลังข้อมูลนั้น มีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้งานและมีลักษณะของการจัดเก็บแตกต่างไปจากข้อมูลในฐานข้อมูลระบบงานอื่น โดยข้อมูลในคลังข้อมูลจะถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจบริหารงานของผู้บริหาร โดยเฉพาะการเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบงาน เพื่อการบริหารงานอื่น เช่น ระบบ DSS และระบบ CRM เป็นต้น
(3.2) คุณลักษณะเฉพาะของคลังข้อมูล จากนิยามของคลังข้อมูลที่บอกถึงความแตกต่างกันระหว่างคลังข้อมูลกับฐานข้อมูลปฏิบัติการ ซึ่งสามารถสรุปคุณลักษณะของคลังข้อมูลได้ดังนี้
1. Subject oriented หรือการแบ่งโครงสร้างตามเนื้อหา หมายถึง คลังข้อมูลถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นไปในแต่ละเนื้อหาที่สนใจ ไม่ได้เน้นไปที่การทำงานหรือกระบวนการแต่ละอย่างโดยเฉพาะเหมือนอย่างฐานข้อมูลปฏิบัติการในส่วนของรายละเอียดข้อมูลที่จัดเก็บในระบบทั้งสองแบบก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งานด้วยเช่นกัน คลังข้อมูลจะไม่จำกัดเก็บข้อมูลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมวลผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ในขณะที่ข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลปฏิบัติการหากมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน
2. Integration หรือการรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของคลังข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูลจากหลายฐานข้อมูลปฏิบัติการเข้าด้วยกัน และทำให้ข้อมูลมีมาตราฐานเดียวกัน เช่นกำหนดให้มีค่าตัวแปรของข้อมูลในเนื่อหาเดียวกันให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
3. Time variancy หรือความสัมพันธ์กับเวลา หมายถึงข้อมูลในคลังข้อมูล จะต้องจัดเก็บโดยกำหนดช่วงเวลาเอาไว้ โดยจะสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจของหน่วยธุรกิจนั้น เพราะในการตัดสินด้านการบริหารจำเป็นต้องมีข้อมูลเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลา แต่ละจุดของข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับจุดของเวลาและข้อมูลแต่ละจุดสามารถเปรียบเทียบกันได้ตามแกนของเวลา
4. Nonvolatile หรือความเสถียรของข้อมูล หมายถึงข้อมูลในคลังข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ หรือการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเดิมที่บรรจุอยู่แล้ว ผู้ใช้ทำได้เพียงการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น
4. สถาปัตยกรรมคลังข้อมูล (Data Wharehouse Architrcture- DWA) DWA เป็นโครงสร้างมาตราฐานที่ใช้บ่อย เพื่อให้เข้าใจแนวคิด และกระบวนการของคลังข้อมูลนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคลังข้อมูลแต่ละระบบอาจจะมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกันได้ เพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ ทั้งนี้ส่วนประกอบต่างๆ ภายใน DWA ที่สำคัฯได้แก่
1. Operational database หรือ external database layer ทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลในระบบงานปฏิบัติการหรือแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร
2. Information access layer เป็นส่วนที่ผู้ใช้ปลายทางติดต่อผ่านโดยตรง ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการแสดงผลเพื่อวิเคราะห์ โดยมีเครื่องมือช่วย เป็นตัวกลางที่ผู้ใช้ใช้ติดต่อกับคลังข้อมูล โดยในปัจจุบันเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นคือ Online Analytical Processing Tool หรือ OLAP tool ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และแสดงข้อมูลในรูปแบบหลายมิติ
3. Data access layer เป็นส่วนต่อประสานระหว่าง Information access layer กับ operational layer
4. Data directory (metadata) layer เพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น และเป็นการเพิ่มความเร็วใน
การเรียกและดึงข้อมูลของคลังข้อมูล
5. Process management layer ทำหน้าที่จัดการกระบวนการทำงานทั้งหมด
6. Application messaging layer เป็นมิดเดิลแวร์ ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรผ่านทางเคลือข่าย
7. Data warehouse (physical) layer เป็นแหล่งเก็บข้อมูลของทั้ง information data และ external data ในรูปแบบที่ง่ายแก่การเข้าถึงและยืดหยุ่นได้
8. Data staging layer เป็นกระบวนการการแก้ไข และดึงข้อมูลจาก external database
5. เทคนิคในการสร้างคลังข้อมูล
5.1 การเคลื่อนที่ของข้อมูลในคลังข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บภายในคลังข้อมูลมีการเคลื่อนที่ของข้อมูล (information flow) 5 ประเภท ดังนี้
1. Inflow คือการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่นเข้าสู่คลังข้อมูลทั้งฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยในขั้นนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโรงสร้างข้อมูล การทำ denormalize การลบหรือการเพิ่มฟิลด์เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในเนื้อหาที่สนใจเดียวกัน ในขั้นตอนนี้อาจใช้เครื่องมือที่เรียกว่า data warehouse tool
2. Upflow เมื่อข้อมูลที่เราต้องการอยู่ในคลังข้อมูลแล้ว ในบางครั้งอาจต้องมีการเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูลด้วยเพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์มากที่สุดต่อการนำเครื่องมือมาใช้ ซึ่งได้แก่การจัดกลุ่มข้อมูลหาค่าทางสถิติที่ซับซ้อน จัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบหรือเทมเพลตมาตราฐาน
3. Downflow เป็นขั้นตอนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลเก่า และไม่อยู่ในเนื่อหาที่องค์กรสนใจออกไปจากคลังข้อมูลขององค์กร
4. Outflow เป็นขั้นตอนที่ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลในคลังข้อมูลผ่านเครื่องมือต่างๆ โดยการเรียกใช้อาจมีเพียงขอเรียกเป็นครั้งคราวเป็นประจำทุกวัน/เดือน หรือแม้กระทั่งต้องการแบบทันที
5. Metaflow ข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูลจะถูกทำข้อมูลไว้อีกชุดหนึ่ง เป็นแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น หรือแม้กระทั่งที่อยู่ของข้อมูลนั้นในคลังข้อมูลและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.2 วิธีการออกแบบฐานข้อมูลสำหรับคลังข้อมูล วิธีการนี้ถูกเสนอโดย Kimball ในปี 1996 เรียกว่าระเบียบวิธี 9 ชั้น หรือ Nine-Step Methodology โดยวิธีการนี้เริ่มจากการออกแบบจากส่วนย่อยที่แสดงถึงแต่ละระบบงานขององค์กร หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าดาต้ามาร์ท (data mart) โดยเมื่อออกแบบแต่ละส่วนสำเร็จแล้ว จึงนำมารวมกันเป็นคลังข้อมูล ขององค์กรในขั้นสุดท้าย ซึ่งขั้นตอนทั้ง 9 ขั้นตอน มีรายละเอียดดังนี้
1. กำหนดดาต้ามาร์ท คือการเลือกว่าจะสร้างดาต้ามาร์ทของระบบงานใดบ้าง และระบบงานใดเป็นระบบงานแรกโดยองค์กรจะต้องสร้าง E-R model ที่รวมระบบงานทุกระบบขององค์กรไว้ แสดงการเชื่อมโยงของแต่ละระบบงานอย่างชัดเจน และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกระบบงานที่จะเป็นดาต้ามาร์ทแรกนั้น มี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จะต้องสามารถพัฒนาออกมาได้ทันตามเวลาที่ต้องการ โดยอยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้และต้องตอบปัญหาทางธุรกิจให้แก่องค์กรได้ ดังนั้นดาต้ามาร์ทแรกควรจะเป็นของระบบงานที่นำรายได้เข้ามาสู่องค์กรได้ เช่น ระบบงานขาย เป็นต้น
2. กำหนด fact table ของดาต้ามาร์ท คือกำหนดเนื่อหาหลักที่ควรจะเป็นของดาต้ามาร์ท โดยการเลือกเอนทิตีหลักและกระบวนการที่เกี่ยวกับเอนทริตีนั้นๆ ออกมาจาก E-R model ขององค์กร นั้นหมายถึงว่าจะทำให้เราทราบถึง dimension table ที่ควรจะมีด้วย
3. กำหนดแอตทริบิวต์ที่จำเป็นในแต่ละ dimension table คือการกำหนดแอตทริบิวต์ที่บอกหรืออธิบายรายละเอียดของ dimension ได้ ทั้งนี้แอตทริบิวต์ที่เป็น primary key ควรเป็นค่าที่คำนวณได้ กรณีที่มีดาต้ามาร์ทมากกว่าหนึ่งดาต้ามาร์ทมี dimension เหมือนกัน นั่นหมายถึงว่า แอตทริบิวตืใน dimension นั้นจะต้องเหมือนกันทุกประการ นั้นไม่อาจจะแก้ไขปัญหาการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน อันนำมาสู่ความแตกต่างกันของข้อมูลชุดเดียวกัน ปัญหานี้จึงเป็นการดีที่จะมีการใช้ dimension table ร่วมกันในแต่ละ fact table ที่จำเป็นต้องมี dimension ดังกล่าว โดยเรียก dimension table ลักษณะแบบนี้ว่า comformed และเรียก fact table ว่า fact constellation เราสามารถกำหนดข้อดีของการใช้ dimension table ร่วมกันได้ดังนี้
(1) แน่ใจได้ว่าในแต่ละรายงานจะออกมาสอดคล้องกัน
(2) สามารถสร้างดาต้ามาร์ทในเวลาต่างๆ กันได้
(3) สามารถเข้าถึงดาต้ามาร์ทโดยผู้พัฒนากลุ่มอื่นๆ
(4) สามารถรวบรวมดาต้ามาร์ทหลายๆ อันเข้าด้วยกัน
(5) สามารถออกแบบคลังข้อมูลร่วมกันได้
4. กำหนดแอตทริบิวต์ที่จำเป็นใน fact table โดยแอตทริบิวต์หลักใน fact table จะมาจาก primary key ในแต่ละ dimension table นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถมีแอตทริบิวต์ที่จำเป็นอื่นๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น แอตทริบิวต์ที่ได้จากการคำนวณค่าเบื่องต้นที่จำเป็นสำหรับการคงอยู่ของแอตทริบิวต์อื่นใน fact table เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า measure การกำหนดแอตทริบิวต์นี้ไม่ควรจะเลือกแอตทริบิวต์ที่คำนวณไม่ได้
เช่นเป็นตัวหนังสือหรือไม่ใช่ตัวเลข เป็นต้น และไม่ควรเลือกแอตทริบิวต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื่อหาของ fact table ที่เราสนใจด้วย
5. จัดเก็บค่าการคำนวณเบื้องต้นใน fact table คือการจัดเก็บที่ได้จากการคำนวณให้เป็นแอตทริบิวต์ใน fact table ถึงแม้ว่าจะสามารถหาค่าได้จากแอตทริบิวต์อื่นๆ ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้การสอบถามมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำงานด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องคำนวณค่าใหม่ทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในการจัดเก็บบ้างก็ตาม
6. เขียนคำอธิบาย dimension table ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานดาต้ามาร์ทได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะเกิดความเข้าใจอย่างดีในส่วนต่างๆ
7. กำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล โดยอาจจะเป็นการจัดเก็บเพียงช่วงระยะเวลา 1-2 ปี หรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร เนื่องจากองค์กรแต่ละประเภทมีความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลต่างช่วงเวลากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือข้อกำหนดในการดำเนินธุรกิจมีข้อสังเกตอยู่ 2 ประการที่น่าสนใจและสำคัญสำหรับการออกแบบแอตทริบิวต์ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
(1) ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้นานเกินไปมักเกิดปัญหาการอ่าน หรือแปลข้อมูลนั้นๆ จากแฟ้มหรือเทปเก่า
(2) เมื่อมีการนำรูปแบบเก่าของ dimension table มาใช้อาจเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของ dimension อย่างช้าๆ ได้
8. การติดตามปัญหาการเปลี่ยนแปลงของ dimension อย่างช้าๆ คือ การเปลี่ยนเอาแอตทริบิวต์ของ dimension table เก่ามาใช้แล้วส่งผลกระทบต่อข้อมูลปัจจุบันของ dimension table โดยสามารถแบ่งประเภทของปัญหาที่เกิดได้ 3 ประเภท ดังนี้
(1) เกิดการเขียนทับข้อมูลใหม่โดยข้อมูลเก่า
(2) เกิดเรคอร์ดใหม่ๆ ขึ้นใน dimension
(3) เกิดเรคอร์ดที่มีทั้งค่าเก่าและใหม่ปนกันไป
9. กำหนดคิวรี่เป็นการออกแบบด้านกานภาพเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกในการใช้งานและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อดำเนินการทั้ง 9 ขั้นตอนสำหรับแต่ละดาต้ามาร์ทเสร็จแล้ว จึงจะนำทั้งหมดมารวมกันเป็นภาพของคลังข้อมูลขององค์กรต่อไป
5.3 การแปลงข้อมูลเข้าสู่ดาต้ามาร์ท เมื่อเราออกแบบฐานข้อมูลสำหรับแต่ละดาต้ามาร์ทเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญยิ่งก็คือการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปแปลงให้อยู่ในแพลตฟอร์มของฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ นั่นก็คือการแปลงข้อมูล หรือ Extraction Transformation and Loading (ETL) นั่นเอง โดยที่คุณภาพของการแปลงข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการสร้างคลังข้อมูล จะแตกต่างกันไปตามคลังข้อมูลที่แต่ละองค์กรต้องการ โดยที่การแปลงข้อมูลหมายรวมตั้งแต่การวิเคราะห์แหล่งข้อมูล กำหนดการส่งข้อมูลรวบรวมหรือสร้างข้อมูลภายนอก วางแผนและสร้างรูทีนของการแปลงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้สามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1. วิเคราะห์แหล่งข้อมูล เช่น ปริมาณของข้อมูล จำนวนและชนิดของการเข้าถึงแหล่งข้อมูล แพลตฟอร์มและภาษาโปรแกรมที่ใช้ เป็นต้น
2. ย้ายข้อมูลที่ต้องการจากระบบเดิมมาไว้ในบริเวณที่ใช้ปรับแต่งข้อมูล หรือเรียกบริเวณนี้ว่า staging area เพื่อนำมาเลือกเฉพาะส่วนที่ต้องการแปลงข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้อง หรือการทำความสะอาดข้อมูล 3. กำหนด primary key ของ fact table และ dimension table และกำหนด foreign key ระหว่าง fact table กับ dimension table
4. ย้ายข้อมูลที่ทำความสะอาดแล้วจาก staging area ลงสู่เซิร์ฟเวอร์ของดาต้ามาร์ท
5. สร้าง metadata ของแต่ละดาต้ามาร์ท โดยเก็บรายละเอียดของข้อมูลการอัปเดตและส่งออกไปไว้ในดาต้ามาร์ท
6. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งจะต้องกระทำตลอดทั้งกระบวนการแปลงข้อมูลจำทำได้ดังนี้
(1) ตรวจสอบผลรวมทั้งหมดของจำนวนข้อมูลที่ดึงมาจากแหล่งข้อมูลที่เพิ่มเข้าไป
(2) ตรวจแก้ข้อมูลในระบบเดิมของแหล่งข้อมูล หรือในรูทีนของการแปลง ซึ่งควรจะเก็บข้อมูลในการตรวจแก้ไว้ใน metadata ของการแปลงข้อมูลด้วย
(3) ตรวจสอบค่าของข้อมูลให้ถูกต้องในกระบวนการรวบรวมข้อมูล
(4) ตรวจสอบผลรวมของข้อมูลหลังจากย้ายข้อมูลลงสู่ดาต้ามาร์ทแล้ว

6. สรุป คลังข้อมูลเป็นการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลของระบบงานปฏิบัติงานประจำวันขององค์กร แล้วนำมาแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ ที่เหมาะสมในการเก็บและสะดวกในการใช้งาน แล้วจึงนำข้อมูลนั้นเข้าไปเก็บ
ในคลังข้อมูล การพัฒนาหรือสร้างคลังข้อมูลจากฐานข้อมูลจะต้องมีการพิจารณาถึงองคืประกอบที่จำเป็นในการสร้างให้เหมาะสมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคลังข้อมูล จะให้ประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลอย่างมากก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องคำนึงด้วยคือทรัพยากรที่องค์กรจะต้องทุ่มเทลงไปในการพัฒนาที่อาจจะเกิดขึ้นจนองค์กรไม่สามารถจะพัฒนาระบบนี้จนสำเร็จ และนำมาใช้งานได้ เกิดการลงทุนที่สูญเปล่า ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนควบคุมและจัดการให้รอบคอบ

data mining คืออะไร

DATA MINING คืออะไร
Data Mining คือ ชุด software วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ มันเป็น software ที่สมบรูณ์ทั้งเรื่องการค้นหา การทำรายงาน และโปรแกรมในการจัดการ ซึ่งเราคุ้นเคยดีกับคำว่า Executive Information System ( EIS ) หรือระบบข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่สามารถค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหาร ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) คือทำอย่างไรให้ข้อมูลที่เรามีอยู่กลายเป็นความรู้อันมีค่าได้สร้างคำตอบของอนาคตได้ ปัจจุบันระบบสนับสนุนข้อมูลในการตัดสินใจได้เข้ามามีอิทธิพลในการรวบรวมข้อมูลและปรับค่าข้อมูลในคลังสินค้า ซึ่งฐานข้อมูลขนาดใหญ่นี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลเป็นพันๆ ล้านไบต์ ยากแก่การค้นหาได้อย่างทันกาลด้วยวิธี DBMS ( Database Management System ) โดยทั่วไป ข้อมูลที่เป็นที่สนใจของผู้บริหารธุรกิจวันนี้สามารถจะค้นหาได้ง่ายขึ้นแล้ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการในมหาสมุทรข้อมูลเพื่อนำมาเทียบเคียงและดูแนวโน้ม และนำข้อมูลที่จำเป็นของบริษัทส่งกลับให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างทันกาล นี่คือ จุดประสงค์ของ Data Mining ที่จะมาช่วยในเรื่องของเทคนิคการจัดการข้อมูล ซึ่งได้พยายามและทดสอบแล้วและข้อมูลสนับสนุนที่มีอาจย้อนหลังไปถึง 30 ปี ด้วยเทคนิคเดียวกันนี้เราสามารถใช้ค้นข้อมูลสำคัญที่ปะปนกับข้อมูลอื่น ๆ ในฐานข้อมูลที่ไม่ใช่แค่การสุ่มหา บางคนเรียกว่า KDD ( Knowledge Discovery in Database ) หรือ การค้นหาข้อมูลด้วยความรู้ และนั่นก็คือ Data Mining สำหรับ Philippe Nieuwbourg ( CXP Information ) กล่าวไว้ว่า “ Data Mining คือ เทคนิคที่ผู้ใช้สามารถปฏิบัติการได้โดยอัตโนมัติ กับ ข้อมูลที่ไม่รู้จัก ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่า ให้กับข้อมูลที่มี”
จากประโยคข้างต้นมีคำอยู่สามคำที่สำคัญ คือ คำแรก “ อัตโนมัติ” คือ กระบวนการทำงานของ Data Mining ซึ่งจะเป็นผู้ทำงานเองไม่ใช่ผู้ใช้กระบวนการจะไม่ให้คำตอบกับปัญหาที่มีแต่จะเป็นศูนย์กลางของข้อมูล คำที่สอง “ข้อมูลที่ไม่รู้จัก” เครื่องมือในการค้นหาใหม่ของ Data Mining ซึ่งจะไม่ค้นหาแต่ข้อมูลเก่าและข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนให้เท่านั้น แต่จะค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วย และสุดท้าย “ เพิ่มคุณค่า ” นั่นหมายถึง ผู้ใช้ไม่ได้เป็นแค่เพียงนักสถิติ แต่เป็นได้ถึงระดับตัดสินใจ
ทำไมจึงต้องมี Data Mining
(1.)ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลหากเก็บไว้เฉย ๆ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ดังนั้นจึงต้องมีการสกัดสารสนเทศ
ไปใช้
การสกัดสารสนเทศ หมายถึง การคัดเลือกข้อมูลออกมาใช้งานในส่วนที่เราต้องการ
(2.)ในอดีตเราใช้คนเป็นผู้สืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูลซึ่งผู้สืบค้นจะทำการสร้างเงื่อนไขขึ้นมาตามภูมิปัญญาของผู้สืบค้น
(3.)ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวอาจไม่ให้ความรู้เพียงพอและลึกซึ้งสำหรับการดำเนินงานภายใต้ภาวะที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจึงจำเป็นที่จะต้องรวบรวมฐานข้อมูลหลาย ๆ ฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ คลังข้อมูล” ( Data Warehouse)
ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้ Data Mining ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เพื่อที่จะนำข้อมูลนั่นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้ Data Mining เป็นที่ได้รับความนิยม
(1.) จำนวนและขนาดข้อมูลขนาดใหญ่ถูกผลิตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
การสืบค้นความรู้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อฐานข้อมูลที่ใช้มีขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันมีจำนวนและขนาดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยผ่านทาง Internet ดาวเทียม และแหล่งผลิตข้อมูล อื่น ๆ เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด , เครดิตการ์ด , อีคอมเมิร์ซ
(2.) ข้อมูลถูกจัดเก็บเพื่อนำไปสร้างระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) เพื่อเป็นการง่ายต่อการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ส่วนมากข้อมูลจะถูกจัดเก็บแยกมาจากระบบปฏิบัติการ ( Operational System ) โดยจัดอยู่ในรูปของคลังหรือเหมืองข้อมูล ( Data Warehouse ) ซึ่งเป็นการง่ายต่อการนำเอาไปใช้ในการสืบค้นความรู้
(3.) ระบบ computer สมรรถนะสูงมีราคาต่ำลง เทคนิค Data Mining ประกอบไปด้วย Algorithm ที่มีความซับซ้อนและความต้องการการคำนวณสูง จึงจำเป็นต้องใช้งานกับระบบ computer สมรรถนะสูง ปัจจุบันระบบ computer สมรรถนะสูงมีราคาต่ำลง พร้อมด้วยเริ่มมีเทคโนโลยีที่นำเครื่อง microcomputer จำนวนมากมาเชื่อมต่อกันโดยเครือข่ายความเร็วสูง ( PC Cluster ) ทำให้ได้ระบบ computer สมรรถนะสูงในราคาต่ำ
(4.) การแข่งขันอย่างสูงในด้านอุตสาหกรรมและการค้า เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างสูงในด้านอุตสหกรรมและการค้า มีการผลิตข้อมูลไว้อย่างมากมายแต่ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมและสืบค้นความรู้ที่ถูกซ่อนอยู่ในฐานข้อมูลความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจในการจัดการในระบบต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความรู้เหล่านี้ถือว่าเป็นผลิตผลอีกชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว
ประเภทข้อมูลที่สามารถทำ Data Mining
(1.) Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตาราง โดยในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วยแถวและคอลัมน์ ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดสามารถแสดงได้โดย entity-relationship ( ER ) model
(2.) Data Warehouses เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาเก็บไว้ในรูปแบบเดียวกันและรวบรวมไว้ในที่ ๆ เดียวกัน
(3.)Transactional Database ประกอบด้วยข้อมูลที่แต่ละทรานเซกชันแทนด้วยเหตุการณ์ในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ใบเสร็จรับเงิน จะเก็บข้อมูลในรูป ชื่อลูกค้าและรายการสินค้าที่ลูกค้ารายนั้นซื้อ เป็นต้น
(4.)Advanced Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ข้อมูลแบบ object-oriented , ข้อมูลที่เป็น text file , ข้อมูลมัลติมีเดีย , ข้อมูลในรูปของ web

ลักษณะเฉพาะของข้อมูลที่สามารถทำ Data Mining
(1.) ข้อมูลขนาดใหญ่ เกินกว่าจะพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลได้ด้วยตาเปล่า หรือโดยการใช้ Database Management System ( DBMS ) ในการจัดการฐานข้อมูล
(2.) ข้อมูลที่มาจากหลายแหล่ง โดยอาจรวบรวมมาจากหลายระบบปฏิบัติการหรือหลาย DBMS เช่น Oracle , DB2 , MS SQL , MS Access เป็นต้น
(3.) ข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาที่ทำการ Mining หากข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจะต้องแก้ปัญหานี้ก่อน โดยบันทึกฐานข้อมูลนั้นไว้และนำฐานข้อมูลที่บันทึกไว้มาทำ Mining แต่เนื่องจากข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จาการทำ Mining สมเหตุสมผลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องเหมาะสมอยู่ตลอดเวลาจึงต้องทำ Mining ใหม่ทุกครั้งในช่วงเวลาที่เหมาะสม
(4.) ข้อมูลที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาทำ Mining ได้เช่นกันแต่ต้องใช้เทคนิคการทำ Data Mining ขั้นสูง

ข้อดีของ blogger

ข้อดีของการทำบล็อก ก็คือ
1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ (oknation) ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเองค่ะ
2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ
3. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกตุ การทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code เองได้
4. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก หากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ
6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม
7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมือ่มีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อนของ.....
10. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้ เช่น คุณ kittinun ป้ามด และอีกหลายๆท่าน
12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม
14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้
15. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพือนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกันก็เป็นได้
20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจบุนนี้
21. ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การติว การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
22. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแตความสนใจของกลุ่มย่อยนั้น ในบางกรณี ยังสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหล
23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อเสียของการทำบล็อกนั้น ก็มีอยู่ เช่น
1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ
9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

องค์ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่รับผิดชอบ



การศึกษาความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่รับผิดชอบ
1. ในการปฏิบัติหน้าที่แต่ละครั้งจะศึกษาระเบียบในการปฏิบัติงาน คือ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจสอบเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทุกครั้ง
2. จะติดตามข่าวสาร สารสนเทศตลอดเพื่อดูข่าวความเคลื่อนไหวของประเทศและการเงินของประเทศแล้วนำมาปรับแผนการใช้จ่ายเงินขององค์การบริหารส่วนตำบล ว่าควรที่จะดำเนินการในงานส่วนใดบ้างและส่วนใดบ้างที่ต้องชะลอไว้ก่อน
3. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่ดูแลองค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือองค์การบริหารส่วนตำบลใกล้เคียงเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพร้อมช่วยกันแก้ไขปัญหาในส่วนที่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามระเบียบ
4. นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับงานให้มากที่สุด
5. มีความใส่ใจในหน้าที่การงาน และยึดมั่นในกฎระเบียบแบบแผนที่กำหนดอยู่เสมอ
องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานในหน้าที่
1. การดำเนินการเบิก-จ่าย การจัดทำฎีการถูกต้อง
2. บันทึกบัญชีในสมุดเงินสดรับ -จ่าย ทะเบียนคุมเงินงบประมาณ ทะเบียนคุมเงินรายได้
จัดทำได้อย่างถูกต้อง
3. จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ใบนำส่งเงิน และตรวจสอบจากใบเสร็จได้ถูกต้อง
4. จัดทำรายงานผลการเบิก-จ่าย การรับเงิน ออกมาในรูปของ งบเดือนได้ถูกต้อง
5. นำรายงานที่ได้จัดทำตามข้อ 1-4 รายงานให้ผู้บริหารทราบได้อย่างถูกต้องตามระเบียบแบบ
แผนที่กำหนด โดยไม่มีการทักท้วง
****************

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หน้าที่และความรับผิดชอบ ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี




ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
หน้าที่และความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานหรือปฏิบัติงานการเงินและบัญชีที่ยากพอสมควร ภายใต้การกำ กับตรวจสอบบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

ปฏิบัติงานที่ยากพอสมควร หรือมีความรับผิดชอบไม่สูงนักเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น ตรวจสอบหลักฐาน และใบสำ คัญการเบิกจ่ายเงิน จัดทำ บัญชีทั่วไปของราชการ เช่น ทำ บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท เป็นต้น ช่วยพิจารณาตั้งงบประมาณหมวดที่ไม่มีปัญหา เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าล่วงเวลา ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ เป็นต้น ควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตรวจทางการตั้งฎีกาเบิกจ่าย ทำ หนังสือโต้ตอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ จัดสรรเงิน
งบประมาณ รายจ่ายตามยอดที่ได้รับอนุมัติแล้ว ตรวจสอบงบเดือน ทำ รายงานการเงิน ให้คำ ปรึกษาแนะนำ ในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ติดต่อประสานงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
2. มีความสามารถในการศึกษา หาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
ขั้นตอนการทำงานในแต่ละวัน (ส่วนราชการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์)
1. ด้านการเบิก-จ่ายเงิน
(1.1) รับเรื่องขอเบิก-จ่ายเงินจากงานพัสดุ เช่น การเบิกจ่ายค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ค่าใช้สอย เป็นต้น
(1.2) เมื่อรับเอกสารการขอเบิกจ่ายเงินแล้ว เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีดำเนินการตรวจสอบเอกสารการเบิก-จ่าย ว่าเจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการถูกต้องหรือไม่ เช่น ตรวจสอบลายเซ็นต์คณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง ตรวจรับพัสดุว่าถูกต้องหรือไม่ ผู้รับจ้างเซ็นต์ครบหรือไม่ เป็นต้น
(1.3) เมื่อดำเนินการตามข้อ 1.2 แล้วเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีตรวจสอบยอดเงินงบประมาณรายจ่ายว่ามีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ เมื่อมีเพียงพอก็ดำเนินการจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน
(1.4) เมื่อดำเนินการตามข้อ 1.3 แล้ว เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีลงรับฎีกาเบิกจ่ายเงินในทะเบียนคุมฎีการการเบิก-จ่ายเงิน ขององค์การบริหารส่วนตำบล แล้วเสนอหัวหน้าส่วนการคลังเพื่อดำเนินการตรวจสอบว่าเบิก-จ่ายถูกต้องหรือไม่ แล้วเสนอผู้บริหาร
(1.5) เมื่อผู้บริหารอนุมัติ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีดำเนินการเขียนเช็คเพื่อนำจ่ายให้ผู้รับจ้างต่อไป
(1.6) เมื่อดำเนินการจ่ายเสร็จสิ้นในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีก็จะบันทึกรายการเกี่ยวกับรายจ่ายในแต่ละวันลงใน สมุดเงินสดจ่ายพร้อมลงรายการจ่ายเงินใน ทะเบียนคุมเงินงบประมาณรายจ่าย โดยในการบันทึกทั้งสองรายการจะแยกงบประมาณออกตามหมวดการใช้จ่ายเงินเช่น หมวดเงินเดือน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ฯลฯ
2. ด้านการรับเงิน
(2.1) เมื่อมีการรับเงิน เช่น มีประชาชน ห้างร้าน บริษัท เข้ามาดำเนินการชำระค่าบริการต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล (ค่าเช่าของ ค่าขายแบบแปลน ค่ารับสมัครพนักงานจ้าง เป็นต้น เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีจะดำเนินการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่อหรือ เจ้าหน้าที่การเงินฯ จะตรวจเช็คเงินรายได้จากอินเตอร์เน็ตทุกวันว่ารัฐบาลได้โอนเงินจัดสรรมาให้หรือยังพร้อมกับตรวจเช็คกับธนาคารว่ามีการโอนเงินรายได้หรือยัง เมื่อมีการโอนแล้วก็ดำเนินการนำฝากเข้าบัญชีองค์การบริหารส่วนตำบลต่อไป
(2.2) เมื่อมีการรับเงินตามข้อ 2.1 แล้วเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีจะดำเนินการจัดทำใบนำส่งเงินเพื่อสรุปรายงานการรับเงินในแต่ละวันว่ามีการรับเงินตามหมวดรายได้หมวดใดเช่น หมวดภาษีอากร อากรฆ่าสัตว์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีสุรา ค่าขายแบบแปลน เป็นต้นพร้อมนำส่งธนาคารทุกวัน ปิดใบเสร็จรับเงินทุกวันแล้วรายงานให้หัวหน้าส่วนการคลัง
(2.3) เมื่อดำเนินการตามข้อ 2.2 แล้ว เจ้าหน้าที่การเงินฯ จะจัดทำ รายงานเงินคงเหลือประจำวัน บันทึกรายการรับเงินใน สมุดเงินสดรับ และ ทะเบียนคุมเงินรายได้ ขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยผ่านรายการทุกวันเมื่อมีการรับเงินแล้วเสนอให้หัวหน้าส่วนการคลังตรวจสอบและรายงานให้ผู้บริหารทราบ
เมื่อดำเนินการเบิก-จ่าย และการรับเงินแล้วเสร็จ ภายในสิ้นเดือนเจ้าหน้าที่การเงินฯจะดำเนินการสรุปผลการเบิก-จ่าย และการรับเงิน ของเดือนนั้น แล้วจัดทำงบรายงานการรับ-จ่ายเงิน, งบทดลอง, กระดาษทำการกระทบยอด ,งบกระทบยอดบัญชีเงินฝากธนาคาร แล้วรายงานให้หัวหน้าส่วนการคลังตรวจสอบและรายงานให้ผู้บริหารทราบต่อไปหรือที่เรียกว่า "งบเดือน"
*******************

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สถานที่ทำงาน





ภาพน้ำตกห้วยจันทร์ และภาพผู้บริหาร สมาชิกสภา และเจ้าหน้าที่


ห้วยจันทร์เมืองเศรษฐกิจ
แหล่งผลิตยางพารา
น้ำตกใสเย็นตา
ถิ่นไม้ป่า
ชาวประชาสามัคคี

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
ม. 4 ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
หมายเลขโทรศัพท์ : 086-4680980
หมายเลขโทรสาร: 086-4680980



องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์


แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 2 ฝ่าย
รายละเอียดดังนี้
1. ฝ่ายการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ
1.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์ จำนวน 10 คน เลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภาหนึ่งคน และรองประธานสภาอีกหนึ่งคน ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
1. นายของ ปานทอง ตำแหน่ง ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
2. นายมัย นิลเกตุแก้ว ตำแหน่ง รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
3. นายเชื้อ นพเก้า ตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
4. นายสมชาย อุปสุข ตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
5. นายวงเดือน แก้วบุปผา ตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
6. นายไพบูณย์ พิลาดี ตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
7. นายสาคร สมรัตน์ ตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
8. นายโท อาจภักดี ตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
9. นายอุทิศ ทองละมุล ตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
10. นายทูล ทองละมุล ตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์

1.2 ฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ประกอบด้วย
1. นายประเสริฐ ศรีมงคล ตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
2. นางบุญศรี ทารักษ์ ตำแหน่ง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
3. นายสงัด คำมา ตำแหน่ง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์

2. ฝ่ายเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ
พนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไป

2.1 สำนักงานปลัด ประกอบด้วย บุคลากรจำนวน 9 ราย ดังนี้
1. นางสาวพรรณี ศรีมงคล ตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจันทร์
2. นางสาววิไลพร สิงห์แก้ว ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
3. นายทวี ศิริวงษ์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานชนบท (ถ่ายโอน รพช.)
4. นายวิรัตน์ ศรีวะสุทธิ์ ตำแหน่ง นักการภารโรง
5. นายเดชา เพ็ชรรัคน์ ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป
6. นายทวีทรัพย์ จันทะสน ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป
7. นายสุริน วันทอง ตำแหน่ง พนักงานขับรถ
8. นายเบญจวัฒน์ สารพัฒน์ ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป
9. นายธารา บริบูรณ์ ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป
2.2 ส่วนการคลัง ประกอบด้วยบุคลากรจำนวน 5 ราย
1. นางสาวณัฐชานันท์ แสงภา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี รักษาการหัวหน้าส่วนการคลัง
2. นายศิริวัฒน์ สมตน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุ
3. นางสายันต์ จันทร์ส่องศรี ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้
4. นางสาวสุภาวิณี เลิศศรี ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป
5. นางสาวพิไลวรรณ บริบูรณ์ ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป

2.3 ส่วนโยธา ประกอบด้วยบุคลากรจำนวน 4 ราย
1. นายธวัช นรสิงห์ ตำแหน่ง นักบริหารงานช่าง
2. นางสุวรรณดี จงดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการ
3. นายธนาศักดิ์ วิลามาศ ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป
4. นายภูชิช ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป

2.4 ส่วนการศึกษา ประกอบด้วยบุคลากรจำนวน 9 ราย
1. นางนงนุช ภูวิชัย ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา รักษาการหัวหน้าส่วนการศึกษา
2. นางเยียน ปลื้มใจ ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ที่ 1
3. นางอุใด บริหาร ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ที่ 1
4. นางนิศารัตน์ ทองไทย ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ที่ 2
5. นางยุพาภรณ์ สินศิริ ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ที่ 3
6. นางสาวอุทัย ทองละมุล ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ที่ 4
7. นางสาวเก้าแก้ว นพเก้า ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ที่ 4
8. นางมลิวรรณ เทศราช ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ที่ 5
9. นางวาริษา เทาศิริ ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ที่ 5




***************************







แนะนำตัว




ชื่อ-สกุล : นางสาวณัฐชานันท์ แสงภา
ชื่อเล่น : วาส
เพศ : หญิง
อายุ : 31 ปี
สถานที่เกิด : 130 ม.3 ต.ป่าหวายนั่ง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

ที่อยู่ปัจจุบัน : 92 ม.2 ต.ห้วยจันทร์ อ.ขุนหาญ จ. ศรีสะเกษ
ประวัติการศึกษา : ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ปัจจุบัน : กำลังศึกษาต่อระดับปริญตรี ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

โปรแกรมวิชา รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต สาขา การจัดการการคลัง